วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

มาตรฐานงานระบบวิศวกรรม HVAC ของ ASHRAE (American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers)




ASHRAE ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1894 ในงานประชุมวิศวกรที่ New York ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 1895 จนกระทั่งปี 1954 ก็เริ่มเป็นที่รู้จักกันในชื่อ American Society of Heating and Ventilating Engineers (ASHVE) และในปีเดียวกันก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น American Society of Heating and Air-Conditioning Engineers (ASHAE) และสำหรับชื่อที่ใช้ในปัจจุบันนั้นเกิดจากการรวมกันระหว่าง ASHAE กับ American Society of Refrigerating Engineers (ASRE) จนได้เป็นชื่อ ASHRAE

 ASHRAE เป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา ระบบทำความร้อน ระบบระบายอากาศ ระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นประกอบอาคาร(HVAC&R) เพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติและเป็นการพัฒนาโลกที่ยั่งยืน ผ่านการวิจัย มาตรฐานในการเขียนแบบ ออกตีพิมพ์และศึกษาอย่างต่อเนื่อง
งานระบบวิศวกรรม(HVAC&R) ในอาคาร



ASHRAE ได้ตีพิมพ์หนังสือสี่เล่มเกี่ยวกับเทคโนโลยีงานระบบ HVAC&R ได้แก่ Fundamentals, HVAC Applications, HVAC Systems and Equipment, Refrigeration ซึ่งจะมีการอัพเดททุกปี ASHRAE ยังได้ตีพิมพ์ มาตรฐานและแนวทางเกี่ยวกับงานระบบ HVAC โดยที่มาตรฐานเหล่านี้มักถูกใช้อ้างอิงในกฎหมายประกอบอาคารอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะถูกพิจารณาโดยวิศวกรที่ปรึกษาโครงการ สถาปนิกและเจ้าหน้าที่รัฐบาล ซึ่งต้องเห็นชอบด้วยทางกฎหมาย ในทางปกติแล้วจะถูกรองรับโดยสถาปนิกและวิศวกร
ตัวอย่างมาตรฐานที่ ASHRAE ได้ตั้งไว้มีดังนี้

    • Standard 34 Designation and Safety Classification of Refrigerants
    • Standard 55 Thermal Environmental Conditions for Human Occupancy
    • Standard 62.1 Ventilation for Acceptable Indoor Air Quality (versions: 2001 and earlier as "62", 2004 and beyond as "62.1")
    • Standard 62.2 Ventilation and Acceptable Indoor Air Quality in Low-Rise Residential Buildings
    • Standard 90.1 Energy Standard for Buildings Except Low-Rise Residential Buildings - The IESNA is a joint sponsor of this standard.
    • Standard 135 BACnet - A Data Communication Protocol for Building Automation and Control Networks
และยังมีมาตรฐานของ ASHRAE อื่นที่ออกมาตามแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะมีเกณฑ์การประเมินแบ่งไปตามแต่ละมาตรฐานของ ASHRAE
U.S. Department of Energy’s (DOE’s) ได้ออกกฏหมาย Building Energy Code 101 โดยอ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากมาตรฐานของ ASHRAE ซึ่งมีหลักการสำคัญในการประหยัดพลังงานอยู่สามข้อด้วยกัน

  1. Reduced Energy Consumption ลดการบริโภคพลังงาน ซึ่งกล่าวรวมทั้งบ้านพักอาศัยและอาคารพานิชย์
  2. Building Owner Cost Savings ประหยัดค่าใช้จ่ายของเจ้าของโครงการ
  3. Reduced CO2 emissions ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์






การประเมินอาคารตามมาตรฐาน
การประเมินอาคารตามมาตรฐาน ต่างๆนั้นจะมีการออกใบรับรอง Building Energy Assessment Professional (BEAP) ให้กับอาคารที่ผ่านการประเมินตามมาตรฐานต่างๆ ซึ่งใบรับรองเหล่านี้จะออกให้โดยผ่านการร่วมมือกันของ ASHRAE’s Building Energy Quotient (bEQ) ,IESNA, NIBA, SMACNA และ TABB ซึ่งจุดประสงค์ในการออกใบรับรองให้กับอาคารนั้น เพื่อเป็นการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ลักษณะอาคาร ชี้แจงผมกระทบต่างๆ ประเมินแนวทางแก้ไข และวัดผลในการใช้พลังงาน
ตัวอย่างมาตรฐานในการได้ใบรับรองในด้านต่างๆ
    • Building Energy Modeling Professional Certificationเป็นใบรับรองที่ทาง ASHRAE รวมกับ U.S. affiliate of the International Building Performance Simulation Association (IBPSA-USA) และ the Illuminating Engineering Society of North America (IESNA) ในการรับรองอาคารที่ผ่านมาตรฐาน วัตถุประสงค์ของโครงการนี​​คือการรับรองความสามารถในการประเมินให้เลือกใช้ให้ทำการปรับและตีความผลลัพธ์ที่ได้จากซอฟต์แวร์แบบจำลองการใช้พลังงานเมื่อนำไปใช้สร้างพลังงานและประสิทธิภาพการทำงานระบบและเศรษฐศาสตร์และเพื่อให้การรับรองบุคคลแต่ละบุคคลสามารถที่จะสร้างอาคารใหม่และที่มีอยู่ในรูปแบบที่กำหนด
    • Commissioning Process Management Professional Certification
      ASHRAE 
      ได้พัฒนาการรับรอง Commissioning Process Management Professional (CPMP) ด้วยความร่วมมือจากหลากหลายองค์กร APPA, BCA, IES, NEBB, SMACNA, TABB, and the University of Wisconsin - Madison เพื่อที่จะพัฒนาอาคารอย่างต่อเนื่อง ผู้เชี่ยวชาญต่างยอมรับในการจัดเตรียม CPMP ให้มีไว้ในโครงการใหม่ทุกโครงการ จุดประสงค์ของการรับรองนี้เพื่อที่จะช่วยให้เจ้าของโครงการ นักพัฒนา เจ้าหน้าที่ควบคุมมาตรบานการเขียนแบบ และผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถบริหารจัดการ Commissioning Process
    • Healthcare Facility Design Professional CertificationASHRAE ได้คิดค้นการออกแบบเพื่อความสะดวกสบายของสุขภาพ (HFDP) เป็นโปรแกรมที่ได้รับการยอมรับและพัฒนาร่วมกับ ASHE ของ American Hospital Association อาคารที่ได้รับการรับรองจาก HFDP ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและความรู้เฉพาะทางทางการแพทย์และขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพราะทั้งหมดนี้จะมีส่งผลกระทบกับ การออกแบบ HVAC&R
    • High-Performance Building Design Professional Certification
      ASHRAE 
      ได้พัฒนาโปรแกรม HBDP ด้วยการร่วมมือของหลายๆองค์กร Illuminating Engineering Society of North America (IESNA), the Mechanical Contractors Association of America (MCAA) U.S. Green Building Council (USGBC) และ the Green Building Initiative (GBI) อาคารที่ได้ใบรับรอง HBDP จะแสดงให้เห็นถึงการมีความรู้และความเข้าใจในการการออกแบบงานระบบ HVAC&R เข้ากับกับลักษณะอาคาร
    • Operations & Performance Management Professional Certification
      ASHRAE 
      ได้พัฒนา Operations & Performance Management Professional (OPMP)ด้วยความร่วมมือกับ APPA และ GSA อาคารที่ไ้รับการรับรองจาก OPMP แสดงให้เห็นถึงการมีความรู้และความเข้าใจในการจัดการการปฏิบัติงาน และการดูแลรักษาระบบ HVAC&R

ตัวอย่าง

ระบบปรับอากาศองค์กร ASHRAE (American Society of Heating, Refrigerating, and Air-Conditioning Engineers) ได้กำหนดอัตราการระบายอากาศต่ำสุดเพื่อการอนุรักษ์พลังงานไว้ที่ 5 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน ซึ่งแต่เดิมเคยกำหนดไว้ที่ 15 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน ด้วยวัตถุประสงค์ในเบื้องต้นเพื่อเจือจางและลดกลิ่นจากตัวคน ในกรณีของการนำอากาศจากภายนอกอาคารเข้ามาด้วยอัตรา 5 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คนนั้น พบว่าไม่เพียงพอต่อการคงไว้ซึ่งสุขภาพ และความสบายของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระบบปรับอากาศและระบายอากาศ (Heating, Ventilating, and Air Conditioning:HVAC) ไม่สามารถกระจายอากาศไปสู่ทุกคนได้ อย่างมีประสิทธิภาพด้วยแล้ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญของปัญหากลุ่มอาการของโรคจากที่เกิดจากการทำงานในอาคารปิดได้ และในท้ายที่สุด ASHRAE ก็ได้ปรับค่ามาตรฐานใหม่(ASHRAE Standard 62-1989) โดยคำนึงถึงคุณภาพอากาศภายในอาคาร ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ควบคู่ไปกับการลดการใช้พลังงานด้วย กล่าวคือ ให้มีอากาศเข้าภายในอาคาร 15 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน สำหรับพื้นที่ในสำนักงานให้เป็น 20 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน โดยไม่คำนึงว่าจะมีการสูบบุหรี่ในบริเวณนั้นๆหรือไม่ และได้กำหนดให้สูงถึง 60 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน ในบางพื้นที่โดยพิจารณาถึงกิจกรรมตามปกติในพื้นที่นั้นๆ เช่น ห้องสูบบุหรี่ เป็นต้น 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น