วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

Professional Practice Assignment#4 ตามหาสถาปนิกรุ่นพี่ลาดกระบัง



Professional Practice Assignment#4 ตามหาสถาปนิกรุ่นพี่ลาดกระบัง


พี่นัท  ณัฐพล เพิ่มพูน  อายุ 27 ปี เข้าปี 46
ปัจจุบันทำงานที่ Metaphor Design+ Architecture ที่ประเทศสิงคโปร์
การทำงาน
ตำแหน่ง ผู้ช่วยสถาปนิก Senior Assistant Architect  พอเรียนจบ พี่ก็อยู่ที่เมืองไทยประมาณ 4เดือนทำอะไรต่างๆ ก่อนไปทำงานที่สิงคโปร์ ก็ทำงานที่เมืองไทย 2 เดือน และก็พักผ่อนบ้าง ถามว่าการสมัครงานยากไหม ช่วงที่สมัครงานตอนนั้นเป็นช่วงก่อน Hamberger crisis ที่อเมริกาจะล้ม ช่วงนั้นเศรษฐกิจดีมาก ที่สิงคโปร์ดีมาก เมืองไทยก็ดีมากเหมือนกัน พอจบมาก็ส่ง Portfolio ส่งไปที่บริษัทที่สิงคโปร์ คือที่สิงคโปร์ก็จะมีเหมือนสมาคมสถาปนิกสยาม เราก็เข้าไปดูในเวบไซด์เขา เราก็ดูจะมี บริษัทกี่บริษัท อะไรบ้าง A-Z เราก็ส่งไปหมดเลย พอส่งไป เขาก็ติดต่อกลับมา มีอยู่ประมาณ 8-9 บริษัท ถ้าถามว่าการไปทำงานที่สิงคโปร์ยากไหม ตอนนั้นไม่ยาก เพราะเศรษฐกิจดี แต่ว่ายากไม่ยากอยู่ที่ศักยภาพของเราด้วย ภาษาก็เป็นสิ่งที่สำคัญ และเศรษฐกิจด้วยว่า ดีหรือ ไม่ดี


ส่วนข้อคิด คติในการทำงาน จริงๆแล้วก็ไม่มีอะไรมากแต่ด้วยตำแหน่งซึ่งเราก็ต้องทำตามบอสอยู่ดี ก็คติการทำงานพูดง่ายๆ ก็คือ การซื่อสัตย์ต่ออาชีพ เพราะลูกค้าต้องการงานดีๆ มันก็จะมีอยู่ 3 อย่างที่ลูกค้าต้องการ คือ คุณภาพ ราคา และเวลา เป็นอะไรที่สำคัญมาก งานดีๆที่คุณภาพดี บางทีมันอาจถูกจำกัดด้วยเวลา ราคา  มันจะเป็น key factors ต่างๆ ที่มันสำคัญ คุณภาพก็ทำให้ดี ในเวลาที่มันจำกัดและในเงินที่มันจำกัด พี่เลยถือ key factors 3 ตัวนี้ ให้มันออกมาดีที่สุด




คิดยังไงกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
อันนี้ดีมากเลย เพราะว่า โปรเจคที่พี่ทำอยู่มันเป็นโปรเจค ที่เรียกกว่า Green mark อะนะ ก็เหมือนเป็นข้อจำกัดว่าคุณออกแบบโปรเจคให้ได้ตามกฎเกณฑ์ที่เขากำหนด ตามเท่านี้ๆข้อ นะ แล้วคุณจะได้ระดับ Green mark pattinum  หรือ Greem mark gold เป็นระดับ ระดับไป ส่วนงานที่พี่ทำอยู่ตอนนี้ก็จะเป็นบ้านที่ประหยัดพลังงานซึ่งแน่นอนที่สุดว่าต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ก็คือว่า ได้มีโอกาสได้รู้ว่าพอเราเริ่มออกแบบแบบประหยัดพลังงานจะต้องเริ่มออกแบบยังไง พอเริ่มออกแบบถ้าเราก็เรียน Building Equipment มาแล้วที่เราก็จะรู้องค์ประกอบอาคารที่ใช้ในการออกแบบอาคารเขียวเนี่ยมีอะไรบ้าง อย่างเช่น Solar cell ,Green wall Green roof หรือว่าระบบผนัง dry wall  ระบบ  air con ซึ่งเป็นระบบประหยัดพลังงาน VRV System หรือจะเป็นพวกนำแสงสว่างจากธรรมชาติมาใช้ ระบบวัสดุที่ใช้ประกอบอาคาร กระจก temper Low e  laminate อะไรพวกนี้ เป็นพวกเทคโนโลยีเข้ามาเยอะ  พอเป็นระบบประกอบอาคารก็จะเป็นเทคโนโลยีการควบคุมอาคาร อย่างเช่น  เราก็มีระบบควบคุมโดยใช้ระบบสมองกล  อย่างเช่น เรามีระบบเซนเซอร์ ตรวจสอบว่ามีคนอยู่มั้ย ถ้าไม่มีก็จะประหยัดไฟโดยการปิดไฟเองอัตโนมัติอะไรแบบนี้ ซึ่งก็จะมีเรียกว่า ระบบ Building Intelligent system  เข้ามาออกแบบในการก่อสร้างซึ่งที่พี่ทำอยู่เราเริ่มจากส่วน Design concept จนถึงในส่วนก่อสร้างแล้วอยู่ที่ประมาณ 80 % แล้วก็ใกล้จะเสร็จแล้วน่าจะประมาณเกือบปลายปี ถ้าจะตอบคำถามว่าคิดยังไงเกี่ยกับการออกแบบเกี่ยวกับ green พี่ว่ามันก็สำคัญในช่วงนี้ แต่ว่าขึ้นอยู่กับ Budget ของเจ้าของโครงการเพราะจะต้องมีงบประมาณเพิ่มขึ้นมาประมาณ 15-20%ของงบประมาณ ในส่วนงบประมาณที่ต้องเพิ่มเข้ามาในส่วนของ Green Feature  และ green product ต่างๆที่ต้องเข้ามาใช้ออกแบบในอาคาร ให้อาคารเป็น green มากขึ้น
คิดยังไงกับจรรยาบรรณวิชาชีพ
จรรยาบรรณวิชาชีพก็สำคัญนะ แต่ว่าบางทีสถาปนิกในโลกความเป็นจริงมันก็โหดร้ายนะบางที เพราะเราต้องคุยกับผู้รับเหมา บางทีคุยกับผู้รับเหมา ผู้รับเหมาอาจไม่มีจรรยาบรรณหรือคุยกับลูกค้าซึ่งหลอกเรา เอาแบบของสถาปนิกไปใช้ต่อโดยไม่ได้จ้างเรา เอาไปให้ผู้รับเหมาสร้างต่อ อะไรแบบนี้ ซึ่งก็นั่นแหละเพราะบางทีจรรยาบรรณก็ไม่สามารถควบคุมคนอื่นได้แต่ว่ามันก็สามารถควบคุมตัวเราเองได้ แต่ว่าก็ต้องดูสถานการณ์บางทีเราแข็งเกินไปมันก็ดี เรามีจรรยาบรรณบางทีก็ต้องดูกับผู้ร่วมงานด้วย บางทีเราอาจมีปัญหากับเขาว่าเรามีจรรยาบรรณมากเกินไป อาจมีปัญหา อยู่ที่สถานการณ์ ณ เวลานั้นมากกว่าว่าเราควรจะทำยังไงมากกว่า
บรรยากาศการเรียน
ก็จะประทับใจในส่วนกิจกรรมต่างๆ เรื่องบันเทิงๆ ในคณะที่พี่ๆ น้องทำร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่วนบรรยากาศการเรียนก็ชอบตรงที่ว่า คนมันไม่เยอะ ไม่อึดอัด  ดูแลกันทั่วถึง เพื่อนรู้จักกัน สนิทกันมากเพราะคนไม่เอยะมาก ไปไหนไปกัน แต่ไม่รุว่าตอนนี้เป็นยังไงแต่ว่าก็ชอบตรงที่คนไม่เยอะ ตอนรุ่นพี่มีกันอยู่ประมาณ 50 คนแต่รุ่นก่อนหน้านั้นประมาณ30 คนพอคนน้อยก็น้อยเรื่อง จะไปไหนกันก็ไม่เรื่องมาก แต่ว่าก็เข้าใจว่าสมัยนี้คนเยอะเพระาว่าปัจจัยต่างๆหลายอย่างทั้งการออกนอกระบบของมหาลัยก็ไม่เป็นไร
สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณพี่นัทมากๆที่สละเวลามาให้หนูได้สัมภาษณ์ถึงประสบการณ์ชีวิตและการทำงาน ซึ่งนับว่าโชคดีที่ได้พูดคุยกับพี่นัทโดยตรงที่สตูดิโอของคณะเรา จากปกติที่พี่เขาทำงานที่สิงคโปร์ เพราะพี่นัทมาช่วยทีสิสพอดี และจากการได้พูดคุย สัมภาษณ์ทำให้รู้เรื่องอะไรอีกเยอะและรู้ว่าอนาคตการทำงานที่ต้องออกไปเจอจริงๆมันไม่ง่ายเลย ขอบคุณมากๆค่ะ


วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

มาตรฐานงานระบบวิศวกรรม HVAC ของ ASHRAE (American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers)




ASHRAE ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1894 ในงานประชุมวิศวกรที่ New York ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 1895 จนกระทั่งปี 1954 ก็เริ่มเป็นที่รู้จักกันในชื่อ American Society of Heating and Ventilating Engineers (ASHVE) และในปีเดียวกันก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น American Society of Heating and Air-Conditioning Engineers (ASHAE) และสำหรับชื่อที่ใช้ในปัจจุบันนั้นเกิดจากการรวมกันระหว่าง ASHAE กับ American Society of Refrigerating Engineers (ASRE) จนได้เป็นชื่อ ASHRAE

 ASHRAE เป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา ระบบทำความร้อน ระบบระบายอากาศ ระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นประกอบอาคาร(HVAC&R) เพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติและเป็นการพัฒนาโลกที่ยั่งยืน ผ่านการวิจัย มาตรฐานในการเขียนแบบ ออกตีพิมพ์และศึกษาอย่างต่อเนื่อง
งานระบบวิศวกรรม(HVAC&R) ในอาคาร



ASHRAE ได้ตีพิมพ์หนังสือสี่เล่มเกี่ยวกับเทคโนโลยีงานระบบ HVAC&R ได้แก่ Fundamentals, HVAC Applications, HVAC Systems and Equipment, Refrigeration ซึ่งจะมีการอัพเดททุกปี ASHRAE ยังได้ตีพิมพ์ มาตรฐานและแนวทางเกี่ยวกับงานระบบ HVAC โดยที่มาตรฐานเหล่านี้มักถูกใช้อ้างอิงในกฎหมายประกอบอาคารอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะถูกพิจารณาโดยวิศวกรที่ปรึกษาโครงการ สถาปนิกและเจ้าหน้าที่รัฐบาล ซึ่งต้องเห็นชอบด้วยทางกฎหมาย ในทางปกติแล้วจะถูกรองรับโดยสถาปนิกและวิศวกร
ตัวอย่างมาตรฐานที่ ASHRAE ได้ตั้งไว้มีดังนี้

    • Standard 34 Designation and Safety Classification of Refrigerants
    • Standard 55 Thermal Environmental Conditions for Human Occupancy
    • Standard 62.1 Ventilation for Acceptable Indoor Air Quality (versions: 2001 and earlier as "62", 2004 and beyond as "62.1")
    • Standard 62.2 Ventilation and Acceptable Indoor Air Quality in Low-Rise Residential Buildings
    • Standard 90.1 Energy Standard for Buildings Except Low-Rise Residential Buildings - The IESNA is a joint sponsor of this standard.
    • Standard 135 BACnet - A Data Communication Protocol for Building Automation and Control Networks
และยังมีมาตรฐานของ ASHRAE อื่นที่ออกมาตามแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะมีเกณฑ์การประเมินแบ่งไปตามแต่ละมาตรฐานของ ASHRAE
U.S. Department of Energy’s (DOE’s) ได้ออกกฏหมาย Building Energy Code 101 โดยอ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากมาตรฐานของ ASHRAE ซึ่งมีหลักการสำคัญในการประหยัดพลังงานอยู่สามข้อด้วยกัน

  1. Reduced Energy Consumption ลดการบริโภคพลังงาน ซึ่งกล่าวรวมทั้งบ้านพักอาศัยและอาคารพานิชย์
  2. Building Owner Cost Savings ประหยัดค่าใช้จ่ายของเจ้าของโครงการ
  3. Reduced CO2 emissions ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์






การประเมินอาคารตามมาตรฐาน
การประเมินอาคารตามมาตรฐาน ต่างๆนั้นจะมีการออกใบรับรอง Building Energy Assessment Professional (BEAP) ให้กับอาคารที่ผ่านการประเมินตามมาตรฐานต่างๆ ซึ่งใบรับรองเหล่านี้จะออกให้โดยผ่านการร่วมมือกันของ ASHRAE’s Building Energy Quotient (bEQ) ,IESNA, NIBA, SMACNA และ TABB ซึ่งจุดประสงค์ในการออกใบรับรองให้กับอาคารนั้น เพื่อเป็นการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ลักษณะอาคาร ชี้แจงผมกระทบต่างๆ ประเมินแนวทางแก้ไข และวัดผลในการใช้พลังงาน
ตัวอย่างมาตรฐานในการได้ใบรับรองในด้านต่างๆ
    • Building Energy Modeling Professional Certificationเป็นใบรับรองที่ทาง ASHRAE รวมกับ U.S. affiliate of the International Building Performance Simulation Association (IBPSA-USA) และ the Illuminating Engineering Society of North America (IESNA) ในการรับรองอาคารที่ผ่านมาตรฐาน วัตถุประสงค์ของโครงการนี​​คือการรับรองความสามารถในการประเมินให้เลือกใช้ให้ทำการปรับและตีความผลลัพธ์ที่ได้จากซอฟต์แวร์แบบจำลองการใช้พลังงานเมื่อนำไปใช้สร้างพลังงานและประสิทธิภาพการทำงานระบบและเศรษฐศาสตร์และเพื่อให้การรับรองบุคคลแต่ละบุคคลสามารถที่จะสร้างอาคารใหม่และที่มีอยู่ในรูปแบบที่กำหนด
    • Commissioning Process Management Professional Certification
      ASHRAE 
      ได้พัฒนาการรับรอง Commissioning Process Management Professional (CPMP) ด้วยความร่วมมือจากหลากหลายองค์กร APPA, BCA, IES, NEBB, SMACNA, TABB, and the University of Wisconsin - Madison เพื่อที่จะพัฒนาอาคารอย่างต่อเนื่อง ผู้เชี่ยวชาญต่างยอมรับในการจัดเตรียม CPMP ให้มีไว้ในโครงการใหม่ทุกโครงการ จุดประสงค์ของการรับรองนี้เพื่อที่จะช่วยให้เจ้าของโครงการ นักพัฒนา เจ้าหน้าที่ควบคุมมาตรบานการเขียนแบบ และผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถบริหารจัดการ Commissioning Process
    • Healthcare Facility Design Professional CertificationASHRAE ได้คิดค้นการออกแบบเพื่อความสะดวกสบายของสุขภาพ (HFDP) เป็นโปรแกรมที่ได้รับการยอมรับและพัฒนาร่วมกับ ASHE ของ American Hospital Association อาคารที่ได้รับการรับรองจาก HFDP ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและความรู้เฉพาะทางทางการแพทย์และขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพราะทั้งหมดนี้จะมีส่งผลกระทบกับ การออกแบบ HVAC&R
    • High-Performance Building Design Professional Certification
      ASHRAE 
      ได้พัฒนาโปรแกรม HBDP ด้วยการร่วมมือของหลายๆองค์กร Illuminating Engineering Society of North America (IESNA), the Mechanical Contractors Association of America (MCAA) U.S. Green Building Council (USGBC) และ the Green Building Initiative (GBI) อาคารที่ได้ใบรับรอง HBDP จะแสดงให้เห็นถึงการมีความรู้และความเข้าใจในการการออกแบบงานระบบ HVAC&R เข้ากับกับลักษณะอาคาร
    • Operations & Performance Management Professional Certification
      ASHRAE 
      ได้พัฒนา Operations & Performance Management Professional (OPMP)ด้วยความร่วมมือกับ APPA และ GSA อาคารที่ไ้รับการรับรองจาก OPMP แสดงให้เห็นถึงการมีความรู้และความเข้าใจในการจัดการการปฏิบัติงาน และการดูแลรักษาระบบ HVAC&R

ตัวอย่าง

ระบบปรับอากาศองค์กร ASHRAE (American Society of Heating, Refrigerating, and Air-Conditioning Engineers) ได้กำหนดอัตราการระบายอากาศต่ำสุดเพื่อการอนุรักษ์พลังงานไว้ที่ 5 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน ซึ่งแต่เดิมเคยกำหนดไว้ที่ 15 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน ด้วยวัตถุประสงค์ในเบื้องต้นเพื่อเจือจางและลดกลิ่นจากตัวคน ในกรณีของการนำอากาศจากภายนอกอาคารเข้ามาด้วยอัตรา 5 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คนนั้น พบว่าไม่เพียงพอต่อการคงไว้ซึ่งสุขภาพ และความสบายของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระบบปรับอากาศและระบายอากาศ (Heating, Ventilating, and Air Conditioning:HVAC) ไม่สามารถกระจายอากาศไปสู่ทุกคนได้ อย่างมีประสิทธิภาพด้วยแล้ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญของปัญหากลุ่มอาการของโรคจากที่เกิดจากการทำงานในอาคารปิดได้ และในท้ายที่สุด ASHRAE ก็ได้ปรับค่ามาตรฐานใหม่(ASHRAE Standard 62-1989) โดยคำนึงถึงคุณภาพอากาศภายในอาคาร ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ควบคู่ไปกับการลดการใช้พลังงานด้วย กล่าวคือ ให้มีอากาศเข้าภายในอาคาร 15 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน สำหรับพื้นที่ในสำนักงานให้เป็น 20 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน โดยไม่คำนึงว่าจะมีการสูบบุหรี่ในบริเวณนั้นๆหรือไม่ และได้กำหนดให้สูงถึง 60 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน ในบางพื้นที่โดยพิจารณาถึงกิจกรรมตามปกติในพื้นที่นั้นๆ เช่น ห้องสูบบุหรี่ เป็นต้น